กลองหม้อตาล การละเล่นสมัยรัตนโกสินทร์


เร่เข้ามาค้าเร่เข้ามา มีเรื่องเล่าย้อนความไปถึงสมัยรัตนโกสินทร์โน้น

“ไม่ว่าจะเป็นม้าก้านกล้วยเอย ตะกร้อเอย ตะกร้อที่มันก็สานด้วยทางมะพร้าวนั่นแหละเจ้าค่ะ ไม่ว่าจะเอาดินเหนีวมาปั้นเป็นตุ๊กตาวัวควายที่เด็กๆเล่นกันเอย มันเป็นของเล่นของเด็กสมัยบ่าวเป็นเด็กทั้งนั้นไอ้เรื่องตุ๊กตาล้มลุก ตุ๊กตาพรามที่นั่งเท้าแขน ที่เด็กผู้หญิงสมัยนั้นเล่นกันมันต้องเป็นลูกเจ้าขุนมูลนายลูกท่านพระยาแน้แล้วถึงจะได้เล่นของเช่นนั้นนะเจ้าค่ะ สมัยบ่าวยังเด็กในบ้านท่านเจ้าคุณมีเด็กมากมายก่ายกองเกิดกันไม่หวั่นไม่ไหว พวกบ่าวก็เล่นด้วยกันตั้งแต่ม้าก้านกล้วยนั่นแหละเจ้าค่ะ แต่ที่มันนิยมกันมากจริงๆ ก็คือ “กลองหม้อตาล” เคยได้ยินไหมเจ้าค่ะ ไอ้กลองหม้อตาลนี่มันมีประวัติเช่นนี้เจ้าค้า” แม่ลำเจียกพูดจีบปากจีบคอทำท่าให้ลูกสาวท่านข้าหลวงฟัง นางนี่กลืนน้ำลายเข้าไปดังอึกใหญ่แล้วก็พูดต่อไปว่า สมัยนั้นนะเจ้าค่ะ น้ำตาลนะเขาขายในหม้อใส่หม้อมาขายเมื่อขายหมดแล้ว เด็กๆก็เอาหม้อมาทำเป็นกลอง “เขาใช้อะไรทำหรือแม่ลำเจียก” คุณหนูของอิฉันถาม
แม่ลำเจียกยืดตัวขึ้นแต่หลังก็ยังก้มค้อมอยู่ยังกับอึ่งอ่างพองตัวพูดด้วยความภูมิใจที่ได้เล่าให้คุณหนูฟัง พวกบ่าวใช้ผ้าขี้ริ้วเจ้าค้า ผ้าขี้ริ้วที่ใช้อยู่ทั่วไปนี่แหละค่ะคุณหนูพวกบ่าวจะไปเอามันมาหุ้มปากหม้อแล้วหาเชือกมารัดไว้ให้แน่น คุณหนูทำท่าสนใจอย่างจริงจัง แม่นางคางคกมองอิฉันแล้วพูดด้วยเสียงดังเกินสมควรว่า “เจ้าค่ะ หลังจากที่พวกบ่าวเอาเชือกไปรัดคอหม้อที่มีผ้าขี้ริ้วขึงอยู่แล้วมันก็ยังไม่ตึงพอนะเจ้าค่ะ พวกบ่าวจะไปหาดินเหนียวเหลวๆ ละเลงทาให้ทั่วขอบหม้อปิดรอยเชือกอีกที จากนั้นก็จะหาไม้เล็ก ๆ มาตีผ้าที่ขึงข้างหม้อโดยรอบ” “ตีผ้า” คุณหนูตาโต “ตีทำไม” แม่นางคางคกขึ้นวอเล่าต่อไปว่า “ตีไว้เพื่อขันให้ผ้าตึงค่ะคุณหนู เวลาพวกบ่าวเอาผ้ามาปิดปากหม้อเอาเชือกมารัด เมื่อรัดเชือกนั้นต้องดึงผ้าให้ตึงด้วยเหตุที่จะเอามันมาทำกลองหน้าผ้าต้องตึงที่สุดเวลาตีกลองมันจะได้ไม่หลุดเข้าใจไหมเจ้าค่ะ” “อันนี้เราเข้าใจ” คุณหนูบอก “ดีแล้วเจ้าค่ะที่เข้าใจ” อิฉันอยากจะถีบแม่คางคกนี่เสียเหลือเกินที่กล้ามาพูดจาเทียบเคียงคุณหนู แต่คุณหนูหันมามองอย่างรู้ทัน เลยหยุดตีนไว้อย่างใจเย็น “อย่างนี้เจ้าค่ะเมื่อพวกบ่าวขึงผ้าตึงแล้วมัดเชือกไว้แค่นั้น หากตีมันแรงๆผ้าอาจหลุดได้จำต้องเอาดินเหนียวมาทาให้ทั่ว แล้วเราก็ดึงผ้าตีผ้าข้างๆให้ตึงขันให้มันตึงนะเจ้าค่ะ เมื่อดินเหนียวแห้งแล้วมันก็จะแน่นหนาตึงอย่างที่เราขันไว้” “แล้วอย่างไรต่อจ๊ะ” คุณหนูถาม แม่คางคงยิ้มมาให้อิฉัน แล้วเจรจาต่อไปว่า “คราวนี้แหละค่ะถึงการสำคัญ กลองใครที่ตีแล้วมีเสียงดังที่สุดคนนั้นก็ชนะ” “เขาตีกับมือหรือจ๊ะ แม่ลำเจียก” เท่านั้นแหละพอได้ยินคุณหนูเรียกชื่อตัวเอง มันหันมามองอิฉันเหมือนว่ามันนั้นเป็นนายอิฉันไปด้วยอีกคน “ไม่เจ้าค่ะเราใช้ไม้ตีกระหน่ำตีจนบางทีผ้าขาดไปข้างหนึ่ง เราก็จะไปเอาผ้าขี้ริ้วมาทำใหม่เจ้าค่ะกลองใครตีได้ดังที่สุดถือว่าชนะ” “ช่างน่าสนใจจริงๆ ขอบใจมากนะแม่ลำเจียก” ว่าแล้วคุณหนูก็หันมาทางอิฉันแล้วบอกว่า “พี่เตี้ยเราไปหาหม้อน้ำตาลมาทำบ้างเถิดแล้วไปสอนเด็กๆในเรือนเรา” เป็นไงหละแม่นางพญาคางคง เรียกแค่คางคงมันยังน้อยไปเจ้าค่ะ นางพญาคางคกเหมาะสมที่สุดแล้ว แค่มันได้ยินคุณหนูเรียกอิฉันพี่เตี้ยมันแทบเป็นลม คุณหนูอิฉันเรียกทุกคนด้วยความเคารพเจ้าค่ะ จะเรียกอีเรียกไอ้ จิกหัวตบเป็นไม่มี ฉันหันไปยิ้มให้แม่ลำเจียก แล้วบอกว่า “ข้าขอตัวก่อนนะแม่ลำเจียก จะไปหาหม้อน้ำตาลมาทำกลองหม้อตาลให้คุณหนูกับเด็กๆที่บ้าน” “
ดังคำโบราณว่าไว้ “แข่งวัวแข่งควายนะมันแข่งกันได้แต่แข่งวาสนามันแข่งกันไม่ได้หรอก” แม่ลำเจียกเป็นคนบอกให้คุณหญิงส่งอิฉันไปรับใช้บ้านคุณท่านอีกคน อิฉันร้องไห้เป็นคืนๆเพราะกลัวคุณหญิงคนใหม่จะไม่ชอบตน ที่ไหนได้ท่านรักบ่าวทุกคนมีลูกก็ให้อิฉันเลี้ยงถือว่าเป็นวาสนาของอิฉันเจ้าค่ะ ว่าแล้วอิฉันก็หันไปลาแม่นางพญาคางคก “ขอบใจแม่ลำเจียกมากนะจ๊ะที่ให้ฉันไปเป็นบ่าวบ้านคุณหนู ข้าขอตัวไปทำกลองหม้อตาลให้คุณหนูก่อนนะ”
“ไปเถิดค่ะคุณหนู เรากลับเรือนกัน” “ไปกันจ๊ะพี่เตี้ย” แล้วคุณหนูก็เดินนำบ่าวกลับมาลงเรือกลับบ้าน นิทานบทนี้สอนให้รู้ว่า ทีเอ็งแล้วข้าไม่ว่า ทีข้าแล้วเอ็งอย่าโวย